วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความหมายระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์             ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม (Software) ที่ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทําหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรงและโปรแกรมการใช์งานต่าง ๆ
              ความหมายของระบบปฏิบัติการ
              โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า OS (Operating System) เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้
              1. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
              ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็ระบบปฏิบัติการ สําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วย ความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไป ปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:\>) ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก
              2 .ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
              Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้ (User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface)โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOSหากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรงเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์ ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard)ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
              3. ระบบปฏิบัติการ Unix
              Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับ ระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (Multitasking system)
              4. ระบบปฏิบัติการ Linux
              Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000 เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็ คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ โปรแกรม Linux นั้นมี นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันแก้ไข ทําให้การขยายตัวของ Linux เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของใจกลางระบบปฏิบัติการ หรือ Kernel นั้นจะมีการพัฒนาเป็น รุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทํางานแบบหลายซีพียู
2.2 ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) คืออะไร
              
ระบบคอมพิวเตอร์แทบทุกระบบถือว่าระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญของระบบ โดยทั่วไประบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ และผู้ใช้
             
1. ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วยทรัพยากรต่างๆ ที่มีในระบบ ได้แก่ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึง โปรแกรมภาษาเครื่อง และไมโครโปรแกรม ซึ่งเป็นส่วนที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นซอฟร์แวร์ในระดับพื้นฐาน (primitive level)โดยสามารถทำงานได้โดยตรงกับทรัพยากรระบบด้วยคำสั่งง่ายๆ เช่น ADD MOVE หรือ JUMP คำสั่งเหล่านี้จะถูกกำหนดเป็นขั้นตอน การทำงานของวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่งที่ไมโครโปรแกรมต้องแปลหรือตีความหมายจะอยู่ใน รูปแบบภาษาเครื่องและมักเป็นคำสั่งในการคำนวณ เปรียบเทียบ และการควบคุมอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก
              2. ระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่ทำงานเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              
3. โปรแกรมประยุกต์ คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ เช่น งานส่วนตัว งานทางด้านธุรกิจ งานทางด้านวิทยาศาสตร์ โปรแกรมทางธุรกิจ เกมส์ต่างๆ ระบบฐานข้อมูล ตลอดจนตัวแปลภาษา เราอาจเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า User's Program โปรแกรมประเภทนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงในการพัฒนา เช่นภาษา C, C++, COBOL, PASCAL, BASIC ฯลฯ ตัวอย่างของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้ในทางธุรกิจ เช่น โปรแกรมระบบบัญชีจ่ายเงินเดือน (Payroll Program) โปรแกรมระบบเช่าซื้อ (Hire Purchase) โปรแกรมระบบสินค้าคงหลัง (Stock Program) ฯลฯ ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็จะมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์มที่แตกต่างกัน ตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้เราสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมเองได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานโปรแกรม 
              
โปรแกรมเหล่านี้เป็นตัวกำหนดแนวทางในการใช้ทรัพยากรระบบ เพื่อทำงานต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้หลากหลายประเภท ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคล โปรแกรม หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นตัวแปรภาษาต้องใช้ทรัพยากรระบบในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องแก่โปรแกรมเมอร์ ดังนั้น ระบบปฏิบัติการต้องควบคุมและประสานงานในการใช้ทรัพยากรระบบของผู้ใช้ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
              4. ผู้ใช้ ถึงแม้ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดอีกองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งได้แก่ องค์ประกอบทางด้านบุคลากรที่จะเป็นผู้จัดการและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น คอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกพัฒนาขึ้น
                       นิยามเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ ได้มีผู้ให้นิยามไว้ดังนี้
              
1. Andrew S. Tanenbaum:
                 - An operating system as an extended machine.
                 - An operating system as a resource manager.
              2. Milan Milenkovic:
                 - An operating system is an organized collection of software extensions of hardware, consisting  of control routines for operating a computer and for providing an environment for execution of programs.
              3. H. M. Deitel
                 - Operating systems are primarily resource managers; the main resource they manage is computer hardware in the form of processors, storage, input/output devices, communication devices and data. Operating systems perform many functions such as implementing the user interface, sharing hardware among users, allowing users to share data among themselves, preventing users from interfering with one another, scheduling resources among users, facilitating input/output, recovering from errors, accounting for resource usage, facilitating parallel operations, organizing data for secure and rapid access, and handling network communications.
              4. A. Silberschatz , J. Peterson and P. Galvin
                 - An operating system is a program that acts as an intermediary between a user of a computer and the computer hardware.
                 - An operating system is similar to a government. The components of a computer system are its hardware, software, and data. The operating system provides the means for the proper use of these resources in the operation of the computer system. Like a government, the operating system performs no useful function by itself. It simply provides an environment within which other programs can do useful work.
              5. William S. Davis
                 - The operating system is a set of software routines that sits between the application program and hardware. Because the operating system serves as a hardware/software interface (Fig. 
1.2 ), application programmers and users rarely communicate directly with the hardware.
              
6. ดร. ยรรยง เต็งอำนวย
                 - 
วิธีการปฏิบัติหรือดำเนินงานที่ซับซ้อนซึ่งได้รับการรวบรวมเป็นแบบแผนเดียวกัน
                 - 
กลุ่มโปรแกรมซึ่งได้รับการจัดระเบียบให้เป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างเครื่องและผู้ใช้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้มีประสิทธิผลที่ดี
              7. มงคล อัศวโกวิทกรณ์
                 - 
โปรแกรมที่ช่วยจัดการให้การรันโปรแกรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์และควบคุมการทำงานของเครื่อง
                 - 
กลุ่มโปรแกรมงานที่มีความสามารถสูง เช่น ช่วยในการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบ และควบคุมจังหวะการทำงานของโปรแกรมที่กำลังรันอยู่เพื่อมิให้เกิดข้อผิดพลาดและรวมถึงควบคุม System Software
              
จากนิยามพอจะที่สรุปได้ว่าระบบปฏิบัติการคือกลุ่มโปรแกรมที่ได้รับการจัดระเบียบเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบ และเสริมการทำงานในส่วนของฮาร์ดแวร์ โดยใช้เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และผู้ใช้
              
ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาและการใช้งานโปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ในระบบให้มีประสิทธิผลที่ดี ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ
2.3 ระบบปฏิบัติการ DOS
              ระบบปฏิบัติการดอส (DOS : Disk Operating System)
              
เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค.ศ. 1981 เรียกว่าโปรแกรม PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น Versions 1.0 2.0 3.0 3.30 4.0 5.0 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย
              

                                             ภาพที่ 
ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ  MS-Dos

              การใช้คำสั่งดอส โดยการพิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง ในลักษณะ Command Line ซึ่งDOS ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง ไม่มีภาพกราฟิกให้ใช้ เรียกว่าทำงานในโหมดตัวอักษร Text Mode
              
ข้อเสีย คือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้องโปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนา Microsoft Windows Version 1.0 และเรื่อยมาจนถึง Version 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานแบบกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface (GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก คุณสมบัติเด่นของ Microsoft Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic แต่ยังคงทำงานในลักษณะSingle-User ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูทเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน
              ความยาวของชื่อ-นามสกุล ไฟล์
             
ความแตกต่างที่เห็นในชัดของชื่อไฟล์ในระบบ DOS กับ Windows คือ ความยาวของชื่อไฟล์Windows สามารถตั้งชื่อให้ยาวได้มากถึง 255 ตัวอักษร ส่วนในระบบ DOS ชื่อและนามสกุลของไฟล์จะถูกจำกัดได้เพียงชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร นามสกุลยาวไม่เกิน 3 ตัวอักษร
              ตัวอย่าง Readme.TXT (ชื่อไฟล์ Readme หลังจุดคือนามสกุล TXT)
              คำสั่งระบบ DOS พื้นฐาน
              1. DIR (Directory) – 
คำสั่งในการแสดงรายชื่อไฟล์ รายชื่อไดเรกทอรี่ (Folder ใน windowsปัจจุบัน
              ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)

                 Dir – 
แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ทั้งหมด พร้อมทั้งขนาดไฟล์ + วันเวลาอัปเดทล่าสุด
                 Dir /p – 
แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน ให้หยุดแสดงทีละหน้า (กรณีที่มีจำนวนไฟล์ยาวมากกว่า 1 หน้าจอ)
                 Dir /w – 
แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน
                 Dir /s, – 
แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ และไฟล์ที่อยู่ในไดเรกทอรี่ย่อยด้วย
                 Dir /od – 
แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามวันที่อัปเดท Dir /n – แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามชื่อ
              2. CLS (Clear Screen) – 
คำสั่งสำหรับลบหน้าจอออก
              3. DEL (Delete) – 
คำสั่งในการลบชื่อไฟล์ที่ต้องการ เช่น DEL readme.txt หมายถึงให้ลบชื่อไฟล์ README.TXT
              ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
                 Del readme.txt – 
ลบไฟล์ชื่อ readme.txt
                 Del *.* – 
ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน
                 Del *. – 
ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน เฉพาะไฟล์ที่ไม่มีนามสกุล
              4. MD (Make Directory) – 
คำสั่งในการสร้างไดเรกทอรี่ เช่น MD Photo จะได้ไดเรกทอรี่C:Photo
              5. CD (Change Directory) – 
คำสั่งในการเข้าไปในไดเรกทอรี่ (CD คือคำสั่งในการออกจากห้องไดเรกทอรี่)
              6. RD (Remove Directory) – 
คำสั่งในการลบไดเรกทอรี่ เช่น RD Photo (เราจะต้องอยู่นอกห้องไดเรอทอรี่ Photo)
              7. REN (Rename) – 
คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อชือ เช่น REN readme.txt read.me หมายถึงการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น READ.ME
              ชนิดคำสั่ง DOS
              คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
              1. 
คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
              2. 
คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่งFORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
              รูปแบบและการใช้คำสั่งต่างๆ
              ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
                 [d:] 
หมายถึง Drive เช่น A:, B:
                 [path] 
หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
                 [filename] 
หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
                 [.ext] 
หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
              หมายเหตุ : ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
              ทดลองใช้คำสั่ง DOS ใน Windows
              สำหรับผู้ใช้งาน Windows 95,98 สามารถทดสอบการใช้งานระบบ DOS ได้ มีวิธีเรียกใช้งานดังนี้
              1. 
คลิกปุ่ม Start เลือก คำสั่ง RUN พิมพ์คำว่า Command หรือ
              2. 
คลิกปุ่ม Start เลือกเมนู Program และเลือกโปรแกรม MS-DOS
              3. 
ต้องการให้หน้าจอแสดง DOS เต็มจอให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter
              4. 
และถ้าต้องการให้หน้าจอเล็กดังเดิม ก็ให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter เช่นเดียวกัน
              5. 
เลิกทดสอบและต้องการเข้าระบบ Windows ให้พิมพ์คำว่า EXIT
              การติดตั้งโปรแกรมดอสจากแผ่นดิสก์ 4 แผ่น
              1. 
ให้นำแผ่น DOS แผ่นที่ 1 ใส่ในไดร์ฟ แล้ว Restart เครื่อง
              2. 
รอสักพักจะมีหน้าจอสีฟ้า ให้กด Enter เลยไป
              3. 
พบกรอบสี่เหลี่ยมมีข้อความให้เลือก 2 บรรทัด คือ บรรทัดแรกออกจากไป DOS Prompt
              4. 
บรรทัดที่ 2 ให้ SETUP โปรแกรม DOS ให้เลือกรายการ SETUP กด N
              5. 
จะพบข้อความว่า The Setting are Correct แปลว่า การติดตั้งถูกต้องให้กด Enter
              6. 
จะพบข้อความให้เปลี่ยนชื่อ Directory C:DOS ถ้าไม่ประสงค์จะเปลี่ยนให้กด Enter
              7. 
จะพบข้อความสีฟ้าอ่อน ความหมายคือ โปรแกรมจะเริ่มตรวจเช็คค่าที่จำเป็นเกี่ยวกับภาษา กดEnter
              8. 
จะพบกรอบข้อความที่มีข้อความว่า เก็บค่า เก็บค่าออกจากโปรแกรม ให้เลื่อนแถบสีแดงมาทับ แล้วกด Enter
              9. 
โปรแกรมจะเริ่ม COPY ไฟล์จากแผ่นลงฮาร์ดดิสก์จากแผ่นที่ 1 ไปเรื่อย ๆ จนมีรายการหน้าจอให้ใส่แผ่นที่ 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ
              10. 
ส่วนแผ่นที่ 4 พอได้ 99% จะมีรายงานให้กด กด แล้วกดดังรูป
              11. 
แล้วรอสักพักจะมีรายงานให้กด Enter และมีรายงานให้นำแผ่นออกจากไดร์ฟ แล้ว Restartเครื่องอีกครั้ง การลงโปรแกรม DOS ก็เสร็จเรียบร้อย
2.4 ระบบปฏิบัติการ Windows
              ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (อังกฤษ: 
Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก [2] รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้
                                        

                                                                    ภาพที่ 
หน้าจอ วินโดวส์ 1.0


              วินโดวส์ 1.0 เป็นสภาวะการทำงานรุ่นแรกของวินโดวส์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 20พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 มีสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต ที่เรียกว่า สภาวะการทำงาน (Operating Environments) เพราะ วินโดวส์ 1.0 ยังไม่มีความสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเฉพาะแยกต่างหาก (ระบบปฏิบัติการดังกล่าวคือ ดอส) ซึ่งวินโดวส์จะทำหน้าที่เพียงการติดต่อกับผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่งใดๆ วินโดวส์จะไปเรียกใช้ฟังก์ชันต่างๆ จากดอส เมื่อได้ผลการทำงานออกมา วินโดวส์จะแสดงผลออกมายังผู้ใช้อีกทีหนึ่ง วิสามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ แต่เป็นตัวแสดงผลส่วนหน้าของดอส ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายกว่าการติดต่อกับดอสโดยตรง และตั้งแต่รุ่นแรก วินโดวส์เป็นคู่แข่งกับ แมคอินทอช ผลิตภัณฑ์ลักษณะคล้ายกันจากบริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์ แต่ในช่วงแรก ภาพการแข่งขันยังไม่ชัดเจนนัก
              วินโดวส์ 1.0 อยู่ในระยะการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

              วินโดวส์ 2.0
                                     

                                                                     ภาพที่ 
หน้าจอ วินโดวส์ 2.0
              วินโดวส์ 2.0 เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 2.0 ยังต้องอาศัยดอส แต่มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 1.0 เช่น สามารถเปิดหลายโปรแกรมซ้อนกันได้ และมีโปรแกรม ไมโครซอฟท์ เวิร์ด (Word) และ เอกซ์เซล (Excel) และได้มีปุ่ม Minimize, Maximize และปุ่มลัดอื่นๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงของวินโดวส์ 2.0 วินโดวส์กับแมคอินทอชมีความใกล้เคียงกันมาก จนเกิดคดีฟ้องร้องกันของบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ 2 แห่ง คือ ไมโครซอฟท์ และ แอปเปิล
              
วินโดวส์ 2.0 ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็ถือว่ามีกระแสตอบรับ และการสนับสนุนจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้นกว่ารุ่น 1.0 และอยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
              วินโดวส์ 2.1
                                                

                                                                    ภาพที่ 
หน้าจอ วินโดวส์ 2.1


              วินโดวส์ 2.1 เปิดตัวในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ยังเป็นสภาวะการทำงานที่ต้องอาศัยดอส วินโดวส์รุ่นนี้มี 2 รุ่นย่อย คือ 286 และ 386 ซึ่งทำงานกับโปรเซสเซอร์ Intel 80286 และ 80386 ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
              
ใน พ.ศ. 2532 ไมโครซอฟท์ได้ออกรุ่นอัปเดตของวินโดวส์ 2.1 คือ วินโดวส์ 2.11 (คล้ายกับระบบ Service Pack ในปัจจุบัน) อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

              วินโดวส์ 3.0
                                               

                                                                     ภาพที่ 
หน้าจอ วินโดวส์ 3.0


              วินโดวส์ 3.0 เปิดตัวในวันที่22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ยังต้องอาศัยดอส และโปรเซสเซอร์ตัวเดียวกับ 2.1 แต่วินโดวส์ 3.0 ได้มีการออกแบบกราฟิกในการใช้งานคอมพิวเตอร์ใหม่มีระบบการบริหารจัดการหน่วยความจำรอมและแรมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นก่อน และเปลี่ยนโปรแกรมบริหารจัดการไฟล์และโปรแกรมในดอสใหม่ทั้งหมด การเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งยังมีโปรแกรมใหม่ที่ติดตั้งมาพร้อมวินโดวส์ คือ โน้ตแพดเกม Solitaire ฯลฯ ทำให้วินโดวส์ 3.0 ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นคู่แข่งอย่างชัดเจนกับแมคอินทอชจากแอปเปิล
วินโดวส์ 3.0 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

              วินโดวส์ 3.11
                                                    

                                                                   ภาพที่ 
หน้าจอ วินโดวส์ 3.11


              วินโดวส์ 3.11 เปิดตัวเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2535 ยังต้องอาศัยดอส ในวินโดวส์รุ่นนี้ได้ออกแบบโดยมีแพลตฟอร์มเพื่อการพิมพ์มากขึ้น โดยได้มีฟอนต์ประเภททรูไทป์ และได้มีการลงเกม ไมน์สวีปเปอร์ มาพร้อมกับวินโดวส์เป็นครั้งแรก และได้มีรุ่นปรับปรุง (อัปเดต) คือรุ่น 3.11 ออกมาในวันที่31ธันวาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งถือได้ว่าวินโดวส์ในช่วงนี้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง
              
ในรุ่น 3.11 ได้มีการจำหน่าย Windows for Workgroups ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความสามารถสูงกว่าวินโดวส์ 3.1 ทั่วไป เช่น รองรับระบบเน็ตเวิร์ค และโพรโทคอลเกม Hearts และได้มีการทำวินโดวส์ 3.2สำหรับวางขายเฉพาะประเทศจีน โดยจะใช้อักษรจีนแสดงตัวย่อ
              วินโดวส์ 3.11 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

              วินโดวส์ เอ็นที 3.1
                                                 

                                                               ภาพที่ 
หน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 3.1


              วินโดวส์เอ็นที 3.1 เปิดตัวเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกของวินโดวส์ สามารถทำงานต่างๆได้ด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ที่ลงวินโดวส์นี้ ไม่จำเป็นต้องลงระบบดอสอีกต่อไป เอ็นทีออกแบบมาสำหรับธุรกิจที่ต้องการประสิทธิภาพโดยเฉพาะ อีกทั้งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ32 บิต ซึ่งวินโดวส์ตัวก่อนหน้าทั้งหมด เป็นสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต โปรแกรม 32 บิต (ซึ่งในขณะนั้นมักเป็นโปรแกรมขั้นสูง) สามารถใช้งานกับวินโดวส์เอ็นทีได้ แต่ไม่สามารถใช้งานกับวินโดวส์ 3.1ได้ แต่โปรแกรม 16 บิต สามารถใช้งานกับวินโดวส์ 3.1 และเอ็นที ได้ เพราะเอ็นทีจะมีระบบแปลงไฟล์ ให้สามารถใช้งานในเอ็นทีได้
              เอ็นที ย่อมาจาก (New Technology) มีความสามารถในการรองรับระบบสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ในช่วงนี้ผู้ใช้วินโดวส์เอ็นทีส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ใช้ตามบ้าน แต่มักเป็นลูกค้าที่ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับสูงและกลุ่มนักธุรกิจ ส่วนผู้ใช้ทั่วไปในช่วงนั้นมักยังใช้ วินโดวส์ 3.1 ธรรมดา
วินโดวส์ เอ็นที 3.1 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543

              วินโดวส์ เอ็นที 3.5
                                                  

                                                               ภาพที่ 
หน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 3.5


              วินโดวส์ เอ็นที 3.5 เปิดตัวเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2537 เป็นรุ่นต่อของวินโดวส์เอ็นที 3.1 จุดประสงค์หลักของไมโครซอฟท์ในการพัฒนาวินโดวส์เอ็นที 3.5 คือ การเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของวินโดวส์ รวมถึงความสามารถอื่นๆ เช่น VFAT ที่จะทำให้สามารถตั้งชื่อไฟล์และต่างๆ ได้ถึง 255 ตัวอักษร และความต้องการขั้นต่ำของระบบได้ลดลงต่ำกว่าเอ็นที 3.1 ด้วย ทำให้สามารถครอบคลุมเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น
              แต่อย่างไรก็ตาม วินโดวส์ เอ็นที 3.5 ไม่สามารถติดตั้งได้ในโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ ที่ไม่มีไดรเวอร์สำหรับ PCMCIA อแดปเตอร์การ์ด และไม่สามารถติดตั้งในคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่ใช้โปรเซสเซอร์รุ่นที่ใหม่กว่า Intel P4 ได้
              วินโดวส์เอ็นที 3.5 อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

              วินโดวส์ เอ็นที 3.51
                                                  

                                                                ภาพที่ 
หน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 3.51


              วินโดวส์ เอ็นที 3.51 เปิดตัวเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 เอ็นที 3.51 สามารถทำงานบนสถาปัตยกรรม RISC เป็นเพียงวินโดวส์ไม่กี่รุ่นที่สามารถรองรับ RISC ได้ และนอกจากนี้ยังสามารถรองรับไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์, PCMCIA และระบบบีบอัดไฟล์ หรือ NTFS ได้
              เอ็นที 3.51 อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

              วินโดวส์ 95
                                              

                                                                  ภาพที่ 
10 หน้าจอ วินโดวส์ 95


              วินโดวส์ 95 หรือ วินโดวส์ 4.0 (ไม่เอ็นที) เปิดตัว 24 สิงหาคม พ.ศ. 2538 เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 3.1 เป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป ที่ได้รวมเอาดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ (ยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ แต่ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการแยก) สามารถทำงานได้ทั้งสถานะ 16 และ 32 บิต มีการใช้สตาร์ทเมนู (ปุ่มสตาร์ทที่มุมซ้ายล่าง) และทาสก์บาร์ (แท่งด้านล่างหน้าจอ แสดงโปรแกรมที่ใช้ และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ) เป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งสอง จนถึงวินโดวส์รุ่นล่าสุด ก็ยังใช้คอนเซปต์เดียวกับวินโดวส์95 เพียงแต่ปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น ด้วยความสามารถต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสำหรับผู้ใช้ทั่วไป วินโดวส์ 95 ประสบความสำเร็จอย่างสูง ยอดการใช้วินโดวส์ 95 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของวินโดวส์
              วินโดวส์ 95 อยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

              วินโดวส์ เอ็นที 4.0
                                                 

                                                                ภาพที่ 
11 หน้าจอ วินโดวส์ เอ็นที 4.0


              วินโดวส์ เอ็นที 4.0 เปิดตัวเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 โดยเน้นตลาดเน็ตเวิร์กมากขึ้น โดยจะมีinterface คล้ายกับวินโดวส์ 95 แต่ว่าระบบมีความเสถียรมากกว่า โดยการเพิ่ม API (Application Programming Interface) เข้ามาทำให้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ติดต่อกับวินโดวส์ได้อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน วินโดวส์เอ็นที 4.0 ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับบรรดากลุ่มองค์กรที่ต้องการเครื่อง server ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังพอมีเหลือให้เห็นอยู่บ้างในเครื่อง serverรุ่นเก่าๆ
              
เอ็นที 4.0 มี 2 รุ่นย่อย คือ รุ่น Workstation อยู่ในการสนับสนุนถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และ รุ่น Server อยู่ในการสนับสนุนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547

              วินโดวส์ 98
                                                  

                                                                   ภาพที่ 
12 หน้าจอ วินโดวส์ 98

              
วินโดวส์ 98 หรือ วินโดวส์ 4.1 (ไม่เอ็นที) เปิดตัวเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อของวินโดวส์ 95 จุดเด่นของวินโดวส์ 98 คือการใช้มาตรฐานไดรเวอร์แบบ WDM และ VxDซึ่ง WDM เป็นมาตรฐานใหม่ที่วินโดวส์รุ่นต่อๆ มา ได้ใช้เป็นหลัก ส่วน VxD เป็นมาตรฐานเก่า ซึ่งวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98 ไม่รองรับ ซึ่งทำให้วินโดวส์ 98 เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมสมัยเก่าและใหม่ โปรแกรมสมัยปัจจุบัน แม้จะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวินโดวส์ 98 แต่หลายโปรแกรมก็สามารถใช้กับวินโดวส์ 98 ได้พอสมควร วินโดวส์ 98 Second Edition รุ่นปรับปรุง เริ่มจำหน่ายเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ.2542
              วินโดวส์ 98 อยู่ในการสนับสนุนจนถึง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2549


              วินโดวส์ 2000
                                               

                                                                  ภาพที่ 
13 หน้าจอ วินโดวส์ 2000


              วินโดวส์ 2000 หรือ วินโดวส์ เอ็นที 5.0 เปิดตัวเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เป็นระบบปฏิบัติการเอ็นที มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ใช้ขั้นสูงและกลุ่มธุรกิจ ในช่วงนี้ได้แบ่งเป็น 5 รุ่นย่อย คือProfessional, Server, Advanced Server, Datacenter Server, Advanced Server 64-bit Limited Edition
              วินโดวส์ 2000 อยู่ในการสนับสนุนจนถึง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

              วินโดวส์ มี
                                                

                                                                    ภาพที่ 
14 หน้าจอ วินโดวส์ มี
              วินโดวส์ มี (อังกฤษ: Windows Me) หรือวินโดวส์ 4.9 (ไม่เอ็นที) เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที รุ่นสุดท้ายที่ทำงานได้ทั้งระบบ 16 และ 32 บิต (เวลาผ่านไป โปรแกรมรุ่นใหม่ ที่เป็นโปรแกรมพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน เริ่มเปลี่ยนจาก 16 เป็น 32 บิต และโปรแกรมชั้นสูง เริ่มเปลี่ยนจาก 32 เป็น 64 บิต) เปิดตัว 14 กันยายน พ.ศ. 2543 วินโดวส์มี ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที จึงยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ ซึ่งวินโดวส์ 95 และ 98 แม้จะรวมดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ แต่ยังเปิดให้เข้าถึงดอสได้ แต่วินโดวส์ มี ได้ปิดการเข้าถึงดอสในวินโดวส์ เพื่อให้การบูตเครื่องทำได้เร็ว แต่ทำให้โปรแกรมเฉพาะบางโปรแกรมที่ต้องอาศัยการเข้าถึงดอส ไม่สามารถทำงานได้ในวินโดวส์มี โดยเฉพาะโปรแกรมบริหารจัดการดิสก์
              วินโดวส์ มี อยู่ในการสนับสนุนจนถึง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

              วินโดวส์ เอกซ์พี และ เซิร์ฟเวอร์ 2003
                                           

                                                                ภาพที่ 
15 หน้าจอ วินโดวส์ เอกซ์พี
                                            

                                                         ภาพที่ 
16 หน้าจอ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003


              วินโดวส์ เอกซ์พี หรือ วินโดวส์ เอ็นที 5.1 และ เอ็นที 5.2 เปิดตัว 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นวินโดวส์เอ็นทีรุ่นแรก ที่พัฒนาขึ้นโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป พัฒนาขึ้นจาก วินโดวส์ เนปจูน ถูกยุบรวมกับวินโดวส์ Whistler ส่วนวินโดวส์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ใช้ขั้นสูงและธุรกิจ จะมีแยกต่างหากอีก 2 ตัว ที่ใช้เลข เอ็นที 5.1 และ 5.2 คือ วินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี พีซีส์ และ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003ตามลำดับ โดยคำว่า เอกซ์พี มาจากคำว่า Experience แปลว่า ประสบการณ์ ซึ่งเป็นวินโดวส์ที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง แม้จะเปิดตัวมาแล้วถึง 9 ปี แต่จากข้อมูลในเดือนกันยายน 2553 พบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ยังใช้วินโดวส์เอกซ์พีมากถึงร้อยละ 60 ของผู้ใช้ทั้งหมด ในขณะที่วินโดวส์รุ่นอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน มีส่วนแบ่งร้อยละ 31 และระบบปฏิบัติการอื่นที่ไม่ใช่วินโดวส์ ประมาณร้อยละ 9 วินโดวส์ เอกซ์พี มีการออกรุ่นปรับปรุงตามหลังมาอีกพอสมควร ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบรุ่นของซอฟต์แวร์ได้เอง โดยกด Start แล้วเลือก Run แล้วพิมพ์ sysdm.cpl หรือ winmsd.exe แล้วกด Run จะขึ้นหน้าต่างข้อมูลให้ผู้ใช้รับทราบ รุ่นปรับปรุงที่ออกมา จะปรากฏคำว่า Service Pack
              
เอกซ์พีรุ่นแรก ที่ไม่มี Service Pack ไมโครซอฟท์ได้ยุติการสนับสนุนเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ.2547, เอกซ์พีรุ่นปรับปรุง SP1 และ 1a ยุติการสนับสนุน 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549, รุ่นปรับปรุง SP2 32 บิต ยุติการสนับสนุน 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ส่วนรุ่นปรับปรุง SP2 64 บิต และ SP3 จะสนับสนุนต่อไปจนถึง 8 เมษายน พ.ศ. 2557 ส่วนวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 จะได้รับการสนับสนุนต่อจนถึง 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และวินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี ยังแผนจะยุติการสนับสนุนอีกด้วยและ การสนับสนุน Windows XP ที่มี Service Pack 2 (SP2) ได้หยุดลงในวันที่ 13 กรกฎาคม 2553
              
วินโดวส์ เอกซ์พี หยุดการสนับสนุนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

              วินโดวส์ วิสตา และ เซิร์ฟเวอร์ 2008
                                               



                                                                 ภาพที่ 
17 หน้าจอ วินโดวส์ วิสตา
                                              

                                                         ภาพที่ 
18 หน้าจอ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008
                                                


                                                         ภาพที่ 
19 หน้าจอ วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์
              วินโดวส์ วิสตา หรือ วินโดวส์ เอ็นที 6.0 ได้รับลิขสิทธิ์ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 แต่เริ่มขายผู้ใช้จริง 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ในช่วงของวิสตา วินโดวส์ สำหรับผู้ใช้ขั้นสูงและองค์กรธุรกิจ คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008, วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์ วิสตามีความสามารถสูงกว่าเอกซ์พีหลายประการ เช่น ในการตัดต่อ การพัฒนาแอปพลิเคชันการแสดงผลกราฟิก ที่สามารถแสดงผลแบบโปร่งแสง สามารถมองฉากหลังของหน้าต่างที่กำลังเปิดอยู่ได้ ในมุมมองแบบโปร่งแสง ในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น บาร์ด้านบนสุดของโปรแกรมความสามารถในการค้นหาการพิมพ์ ฯลฯ แต่ทว่า วิสตา ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควร สาเหตุหลักๆ ที่เป็นที่วิจารณ์ คือ ความต้องการขึ้นต่ำของระบบ ที่สูงกว่าวินโดวส์เอกซ์พีหลายเท่าตัว ดัง                     ตัวอย่างเปรียบเทียบในตาราง
              ประเภทความต้องการ        ความต้องการขั้นต่ำของเอกซ์พี (SP3)         ความต้องการขั้นต่ำของวิสตา
              หน่วยประมวลผลกลาง (โปรเซสเซอร์)        233 MHz                                    800 MHz
              แรม                                                                64 MB                                                512 MB
              เนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์                                   4.2 GB                                                 15 GB
              ไดรฟ์ที่ต้องการ                                            CD-ROM                                DVD-ROM
              เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในช่วงนั้น มีความสามารถไม่ถึง หรือ ถึง แต่เกินความต้องการมาเพียงเล็กน้อย ทำให้วิสตาเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่มาก ทำให้เครื่องทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือช้า อีกทั้งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าซอร์ซโค้ดไม่มีคุณภาพ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ไม่ได้ใช้คุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมาของวิสตา จึงยังคงใช้เอกซ์พี วิสตาจึงไม่ประสบความสำเร็จมากนัก
              วิสตา รุ่นแรก ที่ไม่มี Service Pack ไมโครซอฟท์ได้ยุติการสนับสนุนลงแล้วเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ส่วนวิสตารุ่นปรับปรุง SP1 ได้ยุติการสนับสนุนลงแล้วเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ส่วนรุ่นปรับปรุง SP2 ยังไม่มีแผนการจะยกเลิกการสนับสนุน (ตรวจสอบโดย กด Start แล้วพิมพ์ที่ช่องว่างด้านล่างซ้ายว่า winver แล้ว Enter)
              
วินโดวส์ โฮม เซิร์ฟเวอร์ สิ้นสุดการสนับสนุนแล้วเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 สนับสนุน ส่วนวินโดวส์วิสตา และ เซิร์ฟเวอร์ 2008 จะสนับสนุนต่อไปจนถึง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

              วินโดวส์ 7 และ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2
                                     

                                                                    ภาพที่ 
20 หน้าจอ วินโดวส์ 7
                                         

                                                      ภาพที่ 
21 หน้าจอวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2


              วินโดวส์ 7 หรือ วินโดวส์ เอ็นที 6.1 เปิดตัวการขายปลีกเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นวินโดวส์รุ่นล่าสุดของไมโครซอฟท์ ส่วน เอ็นที 6.1 อีกรุ่นหนึ่ง ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ระดับสูง คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2 เปิดตัวในวันเดียวกับวินโดวส์ 7 ในวินโดวส์ 7 ได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่ทำให้วิสตาไม่ประสบความสำเร็จ และมีความต้องการขั้นต่ำไม่ต่างจากวิสตามากนัก นอกจากแรมและการ์ดจอ ที่ต้องการเพิ่ม แต่ที่ผ่านมา จากการเปิดตัววิสตา ได้กรุยทางส่วนหนึ่งไว้ให้ วินโดวส์ 7 เพราะช่องว่างระหว่างการเปิดตัวนั้น ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายรายได้เพิ่มความสามารถในหลายด้าน คอมพิวเตอร์ในช่วงหลังวิสตา พร้อมจะรองรับวินโดวส์ที่ใหญ่กว่าเอกซ์พีได้ อีกทั้งวินโดวส์ 7 ได้มีการบริหารจัดการดี ทำงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิสตา ปัจจุบัน มีผู้ใช้วินโดวส์ 7 มากกว่าวิสตาเสียอีก
              วินโดวส์ 7 และ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2 จะสนับสนุนต่อไปจนถึง 14 มกราคม 2563

              วินโดวส์ 8
                                               

                                                                   ภาพที่ 
22 หน้าจอวินโดวส์ 8


              วินโดวส์ 8 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อไปในตระกูลวินโดวส์ เปิดตัวเมื่อ 22 ตุลาคม 2553 ผ่านทางบล็อกภาษาดัชต์ของไมโครซอฟท์เอง วินโดวส์ 8 มีคุณสมบัติเพิ่มเติมมากมายหลายอย่าง เช่น ไลฟ์ ไทลส์ ช่วยให้เข้าข้อมูลพื้นฐานได้ง่ายขึ้น[3][4], วินโดวส์ เอกซ์พลอเรอร์ ที่ใช้การจัดข้อมูลแบบริบบอนแทนแบบเดิม [5] เป็นต้น ปัจจุบันวินโดวส์ 8 ได้เปิดวางขายเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555
Windows 8
 เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างสรรค์ใหม่ ตั้งแต่ชิปเซ็ตไปจนถึงประสบการณ์ผู้ใช้ และแนะนำส่วนติดต่อผู้ใช้รูปแบบใหม่ที่ทำงานได้อย่างราบรื่นสำหรับทั้งระบบสัมผัสและเมาส์และแป้นพิมพ์ โดยจะทำหน้าที่เป็นแท็บเล็ตเพื่อความบันเทิงและพีซีที่มีคุณลักษณะครบครันเพื่อให้การทำงานสำเร็จลุล่วงWindows 8 ยังประกอบด้วยส่วนปรับปรุงของเดสก์ท็อป Windows ที่คุ้นเคย พร้อมแถบงานใหม่และการจัดการไฟล์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
              Windows 8
 มาพร้อมหน้าจอเริ่มที่มีไทล์ซึ่งเชื่อมต่อกับบุคคล ไฟล์ แอป และเว็บไซต์ แอปต่างๆ จะดูโดดเด่นสะดุดตาและสามารถดาวน์โหลดได้อย่างสะดวกจากสถานที่ใหม่ นั่นก็คือ Windows Store ที่อยู่บนหน้าจอเริ่ม
              นอกจากนี้ Microsoft ยังเปิดตัว Windows RT ที่ทำงานบนแท็บเล็ตและพีซีบางเครื่อง พร้อมกับWindows 8 ด้วย Windows RT ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์พกพาแบบเพรียวบางที่มีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนาน และใช้แอปจาก Windows Store เท่านั้น นอกจากนี้ Windows RT ยังมาพร้อม Office ในตัวที่เหมาะสำหรับหน้าจอสัมผัสด้วย
              วินโดวส์ 8.1
              ในวันที่ 18 ตุลาคม 2013 ทาง Microsoft ออกชุดอัปเดตระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ที่ชื่อ Windows 8.1 สนุบสนุนการใช้ Skype แอพ Mail XBox Video Office Bing Food and Drink Xbox Music Internet Explorer 11 (IE11)
              Windows 8.1
 เหมาะสำหรับการทำงานหลายๆ อย่างในเวลาพร้อมกันและการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงการแสดงผลและใช้งานได้สูงสุดถึง 4 แอปพลิเคชัน ในเวลาเดียวกัน สามารถปรับขนาดหน้าต่างของแต่ละแอปพลิเคชันบนหน้าจอได้ ความสามารถสำหรับแอปพลิเคชันหนึ่งที่จะในการเปิดอีกแอปพลิเคชันหนึ่งและการรองรับหน้าจอหลายๆ จอทำให้ผู้ใช้เห็นเดสก์ท็อป หรือแอพต่างๆ บน วินโดวส์ สโตร์ จากหน้าจอใดหน้าจอหนึ่งหรือทั้งหมดได้
              - 
การทำงานได้ครบวงจรบนคลาวด์ด้วย SkyDrive ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้จากทุกที่ สะดวกกว่าแต่ก่อน สามารถเข้าถึงไฟล์ได้เสมอไม่ว่าจะผ่านดีไวซ์หรือสถานที่ใดก็ตาม ด้วย SkyDrive Smart Files ผู้ใช้สามารถสร้าง แก้ไข เก็บรักษา และแชร์ไฟล์ ที่ใดก็ได้ เมื่อใดก็ได้ บนอุปกรณ์ใดก็ตามที่กำลังใช้งานอยู่
              - 
วินโดวส์ สโตร์ ที่ออกแบบใหม่อย่างสวยงาม ดีไซน์ใหม่ของ วินโดวส์ สโตร์ ได้ปรับปรุงวิธีการแสดงแอปพลิเคชันเด่นๆ ทำให้คุณเข้าถึงแอปพลิเคชันที่ต้องการได้ง่ายขึ้น การจัดวางหน้าจอและจัดหมวดหมู่แอปพลิเคชันแบบใหม่ เช่น หมวด ‘New & Rising’ ช่วยให้ง่ายขึ้นในการติดตามแอปพลิเคชันใหม่ๆ ที่กำลังฮอตที่สุดระบบการแนะนำแอปพลิเคชันที่ปรับให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน โดยใช้ระบบการแนะนำที่ล้ำสมัยของ Bing และระบบที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาแอปพลิเคชันโปรดใหม่ๆนอกจากนี้ แอปพลิเคชันต่างๆ จะได้รับการอัปเดตโดยอัตโนมัติในWindows 8.1 ดังนั้นผู้ใช้จะมีแอปพลิเคชันเวอร์ชันใหม่ที่สุดและดีที่สุดเสมอ จากนักพัฒนาที่มีชื่อเสียง รวมทั้งมีแอปพลิเคชันอย่างเป็นทางการจากFacebook, National Geography และ Thai Dictionary ซึ่งจะนำแอปพลิเคชันใหม่ๆ มาอัปเดตบนวินโดวส์ สโตร์ อย่างต่อเนื่อง
              วินโดวส์ที่นิยมมากที่สุด
              ในขณะนี้ Windows 7 มียอดผู้ใช้มากกว่า Windows XP ที่เป็นรุ่นเก่ากว่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะว่าผู้พัฒนาโปรแกรมต่างก็เข้าไปพัฒนาโปรแกรมเพื่อ Windows 7 มากกว่า Windows XP และMicrosoft ได้หยุดสนับสนุน XP ไปแล้วเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2014ที่ผ่านมา
              เส้นทางสายวินโดวส์
              วินโดวส์ที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน
              วินโดวส์โมเบิล (Windows Mobile) วินโดวส์ซีอี (Windows CE) ใช้สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว และอุปกรณ์พกพา
              พ็อคเกตพีซี (Pocket PC) สำหรับ PDA
              พ็อคเก็ตพีซีรุ่นสำหรับโทรศัพท์ (Pocket PC Phone Edition) สำหรับลูกผสมของ PDA และโทรศัพท์
              สมาร์ทโฟน สำหรับโทรศัพท์
              Portable Media Center 
สำหรับ Digital Media Players
              วินโดวส์เอกซ์พี สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ค (เลขรุ่น: NT 5.1.2600)
              Windows XP Starter Edition 
สำหรับคอมพิวเตอร์วางขายใหม่ ในประเทศกำลังพัฒนา (รวมประเทศไทย)
              Windows XP Embedded 
สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว
              Windows XP Home Edition 
สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน
              Windows XP Home Edition N 
เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของสหภาพยุโรป
              Windows XP Professional Edition 
สำหรับธุรกิจและผู้ใช้ระดับสูง
              Windows XP Professional Edition N 
เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของสหภาพยุโรป
              Windows XP Tablet PC Edition 
สำหรับโน้ตบุ้คที่มีจอแบบสัมผัส
              Windows XP Media Center Edition 
สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุ้คที่เน้นไปทางบันเทิงโดยเฉพาะ
              วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ (เลขรุ่น: NT 5.2.3790)
              Small Business Server 
สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (สนับสนุน 2 ซีพียู)
              Web Edition 
สำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป (สนับสนุน 2 ซีพียู)
              Standard Edition 
สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่ไม่ได้ทำคลัสเตอร์ (สนับสนุน 4 ซีพียู)
              Enterprise Edition 
สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ หรือคลัสเตอร์ (สนับสนุน 8 ซีพียู)
              Datacenter Edition 
สำหรับเซิร์ฟเวอร์เทียบเท่าเมนเฟรม (สนับสนุน 128 ซีพียู)
              Storage Server 
สำหรับเก็บข้อมูลแบบเครือข่าย
              วินโดวส์ วิสตา (
Windows Vista) หรือชื่อเก่าคือ วินโดวส์ ลองฮอร์น (เลขรุ่น: NT 6.0.6000 , NT 6.0.6001 , NT 6.0.6002)
              Windows Vista Ultimate 
เป็นเวอร์ชันที่รวบรวมทุกความสามารถไว้ในตัวเดียว
              Windows Vista Enterprise 
ออกแบบมาสำหรับลดขั้นตอนการดูแล และเหมาะสำหรับองค์กรที่มีความซับซ้อนสูง
              Windows Vista Business 
ออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูล และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลต่ำ
              Windows Vista Home Premium 
ออกแบบมาไว้สำหรับใช้ในบ้าน เพื่อความบันเทิง และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย
              Windows Vista Home Basic 
ออกแบบให้มีฟังก์ชันพื้นฐานและไม่ซับซ้อนสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้น
              Windows Vista Starter 
มีขายในประเทศที่กำลังพัฒนา (รวมไทย)
              วินโดวส์ 7 (Windows 7) หรือ วินโดวส์ เซเวน (Windows Seven) (เลขรุ่น: NT 6.1.7600 , NT 6.1.7601)
              Windows 7 Ultimate 
เป็นเวอร์ชันที่รวมทุกๆ ความสามารถไว้ทั้งหมด
              Windows 7 Enterprise 
เหมือนรุ่น Ultimate แต่จำหน่ายให้ผู้ใช้ระดับองค์กรเท่านั้น
              Windows 7 Professional 
เหมือน Windows Vista Business แต่เพิ่มคุณสมบัติด้านความบันเทิงเข้ามาด้วยเหมือน Windows XP Professional
              Windows 7 Home Premium 
ออกแบบมาไว้สำหรับใช้ในบ้าน เพื่อความบันเทิง และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย
              Windows 7 Home Basic 
มีขายในประเทศที่กำลังพัฒนา (รวมไทย)
              Windows 7 Starter 
รุ่นนี้ไม่มีวางจำหน่าย แต่ว่าจะติดมากับเน็ตบุ๊ค (Netbook) รุ่นใหม่ๆ เท่านั้น
              วินโดวส์ 8 (Windows 8) หรือ วินโดวส์ เอท (Windows Eight) (เลขรุ่น: NT 6.2.9200)
              Windows 8
 รุ่นมาตรฐาน
              Windows 8 Pro 
เทียบได้กับรุ่น Professional ของ Windows รุ่นเก่าๆ คือเพิ่มฟีเจอร์มาจากรุ่นมาตรฐานอีกบางส่วน
              Windows 8 Enterprise 
รุ่น Pro แบบขายกับองค์กร เพิ่มฟีเจอร์มาอีกเล็กน้อย ไม่มีวางจำหน่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
              Windows RT 
ไม่มีวางจำหน่าย แต่จะติดตั้งมากับฮาร์แวร์ เช่น แท็บเลต สมาร์ทโฟน และมีOffice 2013 RT ที่ทำงานในโหมดเดสก์ท็อปมาให้
              วินโดวส์รุ่นก่อนๆ
              ใช้ฐานจากดอส
                 พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - 20 พฤศจิกายน - วินโดวส์ 1.0
                 พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - 9 ธันวาคม - วินโดวส์ 2.0
                 พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - 22 พฤษภาคม - วินโดวส์ 3.0
                 พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - สิงหาคม - วินโดวส์ 3.1 (เลขรุ่น: 3.1.103)
                 พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ตุลาคม - วินโดวส์ for Workgroups (เลขรุ่น: 3.1 3.1.102)
                 พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - พฤศจิกายน - วินโดวส์ for Workgroups 3.11 (เลขรุ่น: 3.1 3.11.412)
วินโดวส์ 9x
                 พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - 24 สิงหาคม - วินโดวส์ 95 (เลขรุ่น: 4.00.950)
                 พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - 25 มิถุนายน - วินโดวส์ 98 (เลขรุ่น: 4.1.1998)
                 พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - 5 พฤษภาคม - วินโดวส์ 98 Second Edition (เลขรุ่น: 4.1.2222)
                 พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - 14 กันยายน - วินโดวส์ Me (เลขรุ่น; 4.9.3000)
ใช้เคอร์เนลเอ็นที
                 พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - 27 กรกฎาคม - วินโดวส์เอ็นที 3.1 (เลขรุ่น: NT 3.10.528)
                 พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - 21 กันยายน - วินโดวส์เอ็นที 3.5 (เลขรุ่น: NT 3.50.807)
                 พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - 30 พฤษภาคม - วินโดวส์เอ็นที 3.51 (เลขรุ่น: NT 3.51.1057)
                 พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - 29 กรกฎาคม - วินโดวส์เอ็นที 4.0 (เลขรุ่น: NT 4.0.1381) - รุ่นสุดท้ายที่ทำงานบนสถาปัตยกรรม RISC เช่น DEC Alpha, MIPS และ PowerPC รุ่นหลังจากนี้จะเน้นสถาปัตยกรรม x86 เพียงอย่างเดียว
                 พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - 17 กุมภาพันธ์ - วินโดวส์ 2000 (เลขรุ่น: NT 5.0.2195)

              วินโดวส์ที่ถูกยกเลิก
                                                    



                                                           ภาพที่ 
23 หน้าจอวินโดวส์แนชวิลล์
                                                    
                                                           ภาพที่ 
24 หน้าจอวินโดวส์เนปจูน
              พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - วินโดวส์แนชวิลล์ (เลขรุ่น: 4.10.999) ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ 95
              พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - วินโดวส์เนปจูน (เลขรุ่น: NT 5.5.5111) ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ 2000
              วินโดวส์ในอนาคต
              พ.ศ. 
2557 (ค.ศ. 2014) - วินโดวส์ 10 ออกรุ่นสำหรับทดสอบ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557

2.5 ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
              ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์

              เป็นระบบปฏิบัติการที่เคยพัฒนาในห้องแล็บ Bellสร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์   และเมนเฟรม   ใช้ในการควบคุมการทำงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก   ดังนั้นยูนิกซ์    จึงมักใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่    และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถนำยูนิกซ์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ คาดว่ายูนิกซ์จะเป็นที่นิยมต่อไป
                                          
                                                ภาพที่ 
25 ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ UNIX

              - ลักษณะการทำงาน ยูนิกซ์ ติดต่อกับผู้ใช้ได้โดยการพิมพ์คำสั่งลงบนเครื่องหมาย Prompt Signแต่ในปัจจุบัน สามารถจำลองจอภาพการทำงานของยูนิกซ์ ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมของวินโดวส์ได้แล้ว ทำให้สามารถทำงานติดต่อกับผู้ใช้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
              - 
คุณสมบัติพิเศษของยูนิกซ์ คือ เรื่องของการรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีความสามารถสูงในด้านการติดต่อสื่อสารระยะไกลระหว่างคอมพิวเตอร์ทำให้ยูนิกซ์ถูกนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครือข่ายของโลกที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต ดังนั้นก่อนที่ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบยูนิกซ์ ได้จะต้องทำการพิมพ์ Login Name และ (Password)

              Unix คืออะไร ?
              ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทหนึ่ง ที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system)ซี่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติด กับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานใน ลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคน ในเวลาเดียวกัน เรียกว่า มัลติยูสเซอร์ (multiusers)และสามารถทำงานได้หลายๆงานใน เวลาเดียว กันในลักษณะที่เรียกว่ามัลติทาสกิ้ง (multitasking)

              การเข้าใช้งานยูนิกซ์
              
การที่ผู้ใช้จะขอใช้บริการบนระบบยูนิกซ์ได้นั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบหรือที่เรียกว่าซิสเตมแอดมินิสเตรเตอร์ (System Administrator) ก่อน หลังจากนั้นผู้ใช้จะได้รับรายชื่อผู้ใช้หรือล๊อกอินเนม (login name) และรหัสผ่าน (password) มา แต่บางระบบ จะมีรายชื่ออิสระเพื่อให้ผู้ใช้ชั่วคราว โดยอาจมีล๊อกอินเนมเป็น guest,demo หรือ fieldซึ่งจะไม่ต้องใช้รหัสผ่าน การเข้าใช้ระบบเราเรีนกว่า ล๊อกอิน (login) โดยทั่วไปเมื่อระบบพร้อมที่จะให้บริการจะปรากฏข้อความว่า login:หรือข้อความใน ลักษณะที่คล้ายๆ กันรวมเรียกว่า พรอมต์ล๊อกอิน (Prompt log in)เมื่อปรากฏหรอมต์แล้วก็ให้พิมพ์ล๊อกอินเนมของผู้ใช ตามด้วย การกดปุ่มจากนั้นระบบจะสอบถามรหัสผ่าน ก็พิมพ์รหัสที่ถูกต้องลงไปตามด้วยปุ่มซึ่งรหัสผ่านที่พิมพ์ลงไปจะไม่ถูกแสดงผลออก ทางจอภาพเมื่อรหัสผ่านถูกต้องก็จะปรากฏเครื่องหมาย ซึ่งเป็นเครื่องหมายเตรียมพร้อมของระบบ
              หมายเหตุ : ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จะถือความแตกต่างกันระหว่างตัวอักษรตัวเล็ก กับตัวอักษรตัวใหญ่ด้วย เช่น FILE1, File1,file1 จะไม่เหมือนกัน ดังนั้นการใส่รหัสผ่าน จะต้องเช็คให้ดี ๆ
              คำสั่งพื้นฐานในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ในยูนิกซ์
              $ ls [-altCF] [directory …]
              เป็นการแสดงชื่อไฟล์ที่มีอยู่ในไดเรกทอรี่ที่ระบุ ถ้าไม่ระบุจะแสดงสิ่งที่อยู่ในรากปัจจุบัน) โดยแสดงในรูป แบบที่มีมากกว่า 1 ชื่อต่อ 1 บรรทัด คล้ายกับคำสั่ง DIR/W ระบบปฏิบัติการดอสพารามิเตอร์บางส่วนของคำสั่งเป็น ดังนี้
                 a 
แสดงชื่อไฟล์ที่ซ่อนไว้
                 l 
แสดงรายชื่อแบบยาว
                 t 
เรียงลำดับไฟล์ตามลำดับเวลาที่มีการแก้ไขล่าสุด
                 C 
แสดงชื่อไฟล์มากกว่าหนึ่งชื่อในแต่ละบรรทัดแต่ถูกคั่นด้วย tab
                 F 
แสดงฃื่อรากตามด้วยเครื่องหมาย /และชื่อไฟล์ที่ทำงานได้ด้วยเครื่องหมาย *รายละเอียดของไฟล์
              $ pwd
              คือคำสั่งที่ใช้เช็คว่าไดเรกทอรี่ปัจจุบันอยู่ที่ตำแหน่งใดแต่ก่อนที่เราจะมาดูรายละเอียดอื่นเรามารู้จักคำว่าไดเรกทอรี่ กันก่อนดีกว่า ไดเรกทอรี่(directory) เนื่องจากไฟล์โปรแกรม หรือข้อมูลต่าง ๆ มีเป็นจำนวนมากทำให้ยากต่อการค้นหาจึงต้องมี การจัดระบบหมวดหมู่ของไฟล์ เป็นไดเรกทอรี่โดยไดเรกทอรี่ก็เปรียบเสมือน กล่องใบหนึ่งโดยไดเรกทอรี่ราก (root directoty) ก็เปรียบเสมือนกล่องใบใหญ่ที่สุดซึ่งจะสามารถนำกล่องใบเล็กๆซ้อนเข้าไปและนำไฟล์ซึ่งเปรียบเสมือนหนังสือจัดเก็บเป็นหมวด หมู่ภายใน กล่องเล็กๆเหล่านั้น และภายในกล่องเล็กๆนั้นก็อาจจะมีกล่องและหนังสือที่เล็กกว่าอยู่ภายในอีกด้วยเหตุนี้ไฟล์จะถูกจัด ไว้เป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการค้นหาทีนี้เมื่อเราต้องการจะหาหนังสือสักเล่มที่อยู่ภายในกล่องนั้นเราก็ต้องรู้ว่าหนังสือเล่มนั้นอยู่ในกล่อง ไหนและกล่องที่ใส่หนังสือนั้นอยู่ภายในกล่องอื่นๆอีกหรือไม่เราเรียกเส้นทางที่อยู่ของแต่ละไฟล์ว่า พาท” (path)

              $ cd [
ชื่อพาท]
              เป็นการเปลี่ยนไดเรกทอรี่ไป เป็นไดเรกทอรี่ที่ต้องการ โดยในการใช้คำสั่งนี้ต้องคามด้วยชื่อพาท เช่น เมื่อเราอยู่ในพาท /data1/home/cpc/muntana และเมื่อเช็คดูแล้วว่ามีไดเรกทอรี่ชื่อ mail จากนั้นพิมพ์ $ cd mail หมายความว่าเป็นการเข้าไปใน กล่องที่ชื่อ mail จากตำแหน่ง ปัจจุบัน เพราะฉนั้นตอนนี้เราจะอยู่ใน พาท /data1/home/cpc/muntana/mail ซึ่งวิธีที่กล่าวมาเป็น การอ้างอิงสัมพันธ์กับตำแหน่งปัจจุบันแต่เรามีอีกวิธีหนึ่งคือการอ้างอิงโดยตรง ทำได้โดยการพิมพ์
              $ mkdir [ชื่อไดเรกทอรี่]
              คือคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเรกทอรี่ใหม่ขึ้น โดยอ้างอิงพาทเช่นเดียวกับคำสั่ง cd เช่น $ mkdir test แล้วใช้คำสั่ง ls เพื่อเช็คดูจะพบไดเรกทอรี่ ชื่อ test
              $ rmdir [ชื่อไดเรกทอรี่]
              คือการลบไดเรกทอรี่ที่มีอยู่แต่ไดเรกทอรี่ที่ลบจะต้องไม่มีไฟล์หรือไดเรกทอรี่ย่อยอยู่ภายในนั้น
              $ rm [ชื่อไฟล์]
              คือการลบไฟล์ที่อ้างถึง
              $ cat [ชื่อไฟล์]
              เป็นการแสดงข้อความในไฟล์ที่เป็นเท็กซ์ไฟล์ (Text Files : ไฟล์ตัวอักษร) แสดงบนจอภาพ
              $ mv [ชื่อไฟล์ต้นทาง] [ชื่อไฟล์ปลายทาง]
              คือการย้ายไฟล์ (move) จากพาทใดๆที่อ้างอิงถึงไปยังพาทปลายทาง เช่น ถ้าเรามีไฟล์ชื่อdead.letterอยู่ที่โฮม ไดเรกทอรี่และ เราต้องการย้ายมันไปที่ไดเรกทอรี่ mail ซึ่งอยู่ภายในโฮมไดเรกทอรี่ของเราเอง ทำได้โดยสั่ง
                 $ mv /data1/home/cpc/muntana/temp /data1/home/cpc/muntana/mail
                 หรือ $ mv temp /home/cpc/muntana/mail
                 หรือ $ mv temp mail
                 หรือ $ mv temp ./mail
                 หรือ อาจจะอ้างแบบอื่นตามรูปแบบการอ้างอิงพาทก็ย่อมได้
              $ more
              เป็นการแสดงข้อความในไฟล์ทีละหน้าจอแล้วหยุดรอจนกว่าผู้ใช้จะกดคีย์ช่องว่าง (space bar)จึงจะแสดงข้อมูลหน้า ถัดไปหรือกด Enter เพื่อแสดงข้อมูลบรรทัดถัดไปทีละบรรทัด และในขณะที่อยู่ภายใน  
              คำสั่ง 
more จะมีคำสั่งย่อยอีก 2 คำสั่ง คือ
                 q 
ออกจากการทำงาน
                 h 
ขอให้แสดงข้อความช่วยเหลือ (help)
              $ cp [ชื่อไฟล์ต้นฉบับ] [ชื่อไฟล์สำเนา]
              เป็นคำสั่งคัดลอก (copy) ข้อมูลจากไฟล์หนึ่ง ไปยังปลายทางที่ต้องการโดยใช้การอ้างอิงพาทลักษณะเดียวกับคำสั่ง mv การอ้างอิงชื่อไฟล์นอกจากการพิมพ์ชื่อไฟล์เต็มๆ โดยตรงแล้วยังมีการอ้างอิงถึงชื่อไฟล์โดยใช้สัญลักษณ์พิเศษอีก 2 ตัว คือ “*” และ “?”
              ? 
ใช้อ้างอิงแทนตัวอักษร สัญลักษณ์พิเศษ หรือ ตัวเลขใดๆ 1 ตัวอักษร เช่นเมื่อเราจะอ้างอิงถึงไฟล์ unix ? หมายถึง ไฟล์ทุก ไฟล์ที่ชื่อขึ้นต้นด้วย unix และตามด้วยตัวอะไรก็ได้อีก 1 ตัว อาจจะเป็นunixa unixx unix_ หรือ unix1 เป็นต้น
              * 
ใช้อ้างอิงแทนตัวอักษร สัญลักษณ์พิเศษ หรือ ตัวเลขใดๆ กี่ตัวอักษรก็ได้ เช่น เมื่อเรา อ้างอิงถึงไฟล์ unix* จะหมายถึง ไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วย unix โดยจะต่อท้ายด้วยตัวอะไรก็ได้กี่ตัวก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็น unix_tue unix1234 เป็นต้น
              เราสามารถนำการอ้างอิงชื่อไฟล์ข้างต้นไปใช้กับคำสั่ง ls mv cp rm ได้ เช่น
ls -al .p* 
หมายถึง การขอดูรายชื่อไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วย .p (คือเป็นไฟล์ซ่อนที่ขึ้นต้นด้วย p )
cp .pine_debug? . /mail 
หมายถึง การคัดลอกไฟล์ทุกไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วย .pine_debug และตามด้วยตัวอักษรใดๆ ตัว ไปยังไดเรกทอรี่ mail

2.6 ระบบปฏิบัติการ Linux
              ระบบปฏิบัติการ 
Linux
              Linux 
เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบMinix ซึ่งเป็ระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
              Linux Version 0.01
 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991 โดยมีเฉพาะHarddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต Floppy Disk Driver และต้องมีระบบMinix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล์ และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix
              Linus 
เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02 ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่งได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย 
              
เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถสนันสนุนกราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์ ทำหน้าที่เป็น News, WWW, FTP Serverได้ และความสามารถอื่นๆ อีกมาก สำหรับจุดเด่นที่น่าสนใจของ Linux ได้แก่
              - 
เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ฟรี
              -
 ทำงานได้บนเครื่องพีซีทั่วไป ที่มีหน่วยประมวลผลกลางตั้งแต่ 80386 ขึ้นไป รวมถึง Motora 680x0, Compaq (Digital) Alpha, PowerPC, SPARC เป็นต้น จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความต้องการทรัพยากรของระบบในขั้นต่ำ 
              - 
สามารถทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากมีระบบการจัดการหน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)การจัดทำงานแบบ Multitasking และระบบป้องกันการรบกวนการทำงานระหว่าง Process ต่างๆ
              - 
มีกลุ่มผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง ทำให้ข้อบกพร่องต่างๆ ถูกค้นพบและหาวิธีแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูงระบบหนึ่ง
              - 
มีความสามารถแบบ UNIX
              - 
สามารถใช้งานร่วมกับดอส (DOS) และ Microsoft Windows โดยการแบ่งพาติชั่น
              -
 ความสามารถในการใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS,Microsoft Windows, NetWare, OS/2, Minix, NFS, System V
              - 
เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด เนื่องจากทุกฟังก์ชันมี Source Code แนบมาพร้อม
              - Linux ออกเสียงได้หลายลักษณะ เช่น ลีนุกซ์ไลนักซ์ลีนิกซ์